Sunday, June 4, 2023
More

    หุ้นเพิ่มทุน

    -

    การเพิ่มทุน (Capital Increase) ก็คือ การที่บริษัทออกหุ้นใหม่หรือที่เรียกว่า “หุ้นเพิ่มทุน” เพิ่มเติมจากหุ้นเดิมที่มีอยู่แล้ว โดยบริษัทจะนำ “หุ้นเพิ่มทุน” ไปเสนอขายให้ กับผู้ที่สนใจ เช่น ผู้ถือหุ้นเดิม ผู้ลงทุนสถาบัน หรือ ผู้ลงทุนทั่วไป ซึ่งสิทธิประโยชน์ของหุ้นเพิ่มทุนจะเหมือนกับหุ้นเดิมของบริษัท

    บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ส่วนใหญ่แล้วจะสามารถหาเงินมาเพื่อขยายกิจการได้จากสองช่องทางคือ การออกหุ้นกู้ ซึ่งการออกหุ้นกู้นี้ สิ่งที่บริษัทต้องมีภาระตามมาก็คือดอกเบี้ยจ่ายที่ต้องจ่ายออกสม่ำเสมอทุกปีตามที่ได้ระบุไว้บนหน้าหุ้นกู้ และเมื่อครบกำหนดจะต้องหาเงินมาจ่ายเงินต้นคืนให้แก่ผู้กู้ยืมเงิน

    แต่อีกวิธีที่บริษัทจะทำได้ก็คือการออกหุ้นเพิ่มทุน โดยการออกหุ้นเพิ่มทุนนั้น บริษัทสามารถที่จะเลือกเสนอขายให้กับผู้ถือหุ้นรายเดิมหรือนักลงทุนที่สนใจรายใหม่ก็ได้

    การที่บริษัทต้องการเงินเพิ่มจากการออกหุ้นเพิ่มทุน จะทำให้ราคาหุ้นบนกระดานลดลงด้วย เนื่องจากว่าหุ้นสามัญที่จะเข้ามาเพิ่มทุนใหม่นั้น จะมีผลทำให้ผู้ถือหุ้นเดิมมีสัดส่วนความเป็นเจ้าของของผู้ถือหุ้นเดิมในบริษัทน้อยลง ซึ่งหมายถึงส่วนแบ่งกำไรที่จะได้ และเงินปันผลก็จะได้ลดลงตามสัดส่วนที่หุ้นเพิ่มทุนจะเข้ามา สิ่งเหล่านี้เรามักจะได้ยินในตลาดเรียกกันว่า “Dilution Effect” นั่นเอง

    สำหรับในกรณีที่บริษัทให้สิทธิ์ผู้ถือหุ้นเดิมซื้อหุ้นเพิ่มทุน บริษัทจะกำหนดวันขึ้นมาเป็นวัน cut off ใครที่เข้าไปซื้อหุ้นหลังวันที่กำหนดจะถือว่า หมดสิทธิ์ได้รับจัดสรรหุ้นเพิ่มทุน วิธีดูง่ายๆ ก็คือต้องซื้อ หรือ มีหุ้นของบริษัทก่อนที่จะขึ้น เครื่องหมาย XR (eXcluding Rights) 

    สำหรับเรื่องของการเพิ่มทุน จุดประสงค์ของการเพิ่มทุนแบ่งออกได้เป็น 3 ข้อ คือ..

    1) เพื่อการขยายธุรกิจ

    2) เพื่อใช้คืนหนี้ เงินกู้ต่างๆ

    3) เพื่อล้างขาดทุนสะสม (ให้สามารถจ่ายปันผลได้ในอนาคต)

    *ทั้งนี้ การเพิ่มทุนแต่ละครั้ง ย่อมมีทั้ง ข้อดี และ ข้อไม่ดี อยู่ที่ว่าบริษัทใช้เงินที่ได้จากการเพิ่มทุนอย่างไร มีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน การเพิ่มทุนที่ดี คือการเพิ่มทุนที่ทำให้มูลค่าของกิจการเพิ่มสูงขึ้น..

    อาทิ ใช้เงินที่ได้จากการเพิ่มทุนเพื่อขยายกิจการ เช่น เพิ่มกำลังการผลิตครั้งใหญ่ ขยายสาขา หรือเอาเงินไปซื้อกิจการ หรือควบรวมกิจการ กับบริษัทอื่น เพื่อต่อยอดธุรกิจของบริษัท กิจกรรมเหล่านี้จะทำให้บริษัทมีรายได้และกำไรเข้ามามากขึ้น แต่แน่นอนว่า … การเพิ่มทุนจะทำให้ “จำนวนหุ้น” เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ “สัดส่วนการถือหุ้น” ของผู้ถือหุ้นลดลง

    อีกกรณีหนึ่งคือการ “เพิ่มทุนเพื่อใช้หนี้” กรณีนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการที่บริษัทมีพันธมิตรทางธุรกิจ หรือ พันธมิตรทางการเงินเข้ามา โดยขั้นแรกก็จะนำเงินมา “ลดหนี้” เพื่อให้ต้นทุนทางการเงินต่ำลง (จะได้จ่ายดอกเบี้ยน้อยลง) แล้วค่อยขยายธุรกิจในขั้นต่อๆ ไป วิธีนี้จะทำให้สัดส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) ลดลง และช่วยเพิ่มความสามารถทางการเงินของบริษัท

    สุดท้ายนี้ สำหรับนักลงทุนที่มองว่า… “การเพิ่มทุน” เป็น “ภาระของผู้ถือหุ้น” ถ้ามองอีกมุม..บางครั้งการเพิ่มทุนก็อาจทำให้บริษัทได้กำไรมากกว่าเดิม ธุรกิจขยับขยายได้มากขึ้น สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว ก็อาจเป็นอีกแง่มุมมองที่ต้องลองเอามาวิเคราะห์ช่างน้ำหนักให้ดี..สำหรับผู้ที่มีหุ้นบริษัทที่ต้องเพิ่มทุน..

    เรียบเรียง : NiW

    ขอบคุณข้อมูล : SET, Club VI

    ขอขอบคุณข้อมูล Source: https://www.stock2morrow.com/article-detail.php?id=1070

    FOLLOW US

    0FansLike
    3,798FollowersFollow
    0SubscribersSubscribe
    spot_img

    Related Stories