- เวลาสุขสบาย มีชีวิตที่ก้าวหน้า ส่วนใหญ่จะไม่เห็นธรรมะสักเท่าไหร่
- ให้ความสำคัญกับเงินทอง การงาน สถานภาพ เพื่อนพ้อง เพราะคิดว่าสิ่งเหล่านี้ที่ทำให้ชีวิตผาสุก
- คนที่มีชีวิตที่ราบรื่น ส่วนใหญ่ก็จะไม่ค่อยสนใจธรรมะ หรือคิดว่าตัวเองรู้มาพอแล้ว ก็จะพอแล้ว
- คิดว่าเคยได้ยินจากครูบาอาจารย์ ได้ศึกษา ได้อ่าน ก็คิดว่าเข้าใจพอแล้ว
- เมื่อไม่ค่อยสนใจธรรมะ เมื่อเกิดวิกฤติ หรือ สูญเสีย ก็รับไม่ได้ สิ่งที่รู้ก็นำมาใช้แก้ปัญหาไม่ได้เลย
- บางคนก็เอาแต่เข้าวัด ทำบุญ แต่ไม่สนใจธรรมะ หรือบางคนก็ฟังและอ่านด้วย แต่ก็คิดว่าตัวเองรู้พอแล้ว แต่ไม่เคยปฏิบัติ
- ไม่ใช่เพราะธรรมะไม่มีประโยชน์ แต่เป็นเพราะใจไม่ได้ซึมซับธรรมะที่พาให้ออกจากทุกข์เมื่อเกิดปัญหา
- รู้ “ธรรมะ” อย่างเดียวไม่พอ ต้อง “ฝึกที่ใจ” ด้วย
- พอลองทำไปสักหน่อย เริ่มปฏิบัติ ก็จะรู้สึกว่า “ยาก”
- ไม่ใช่เพราะธรรมะเป็นของยาก แต่เป็นเพราะธรรมะเป็นของใหม่ เพราะไม่เคยฝึกมาก่อน
- ของใหม่ เมื่อลงมือปฏิบัติ ก็จะยากเสมอ เหมือนการการวิ่ง
- ถ้าทำทุกวัน ก็จะกลายเป็นเรื่องง่าย
- ที่เราคิดว่ายาก เพราะเรา “คาดหวัง” ในสิ่งที่เป็นไปได้ยากอยู่แล้ว ก็เลยเกิดความท้อ ความผิดหวัง
- การที่จิตเราฟุ้งหรือคิด ไม่ใช่ปัญหา แต่เป็นเพราะใจที่ไม่ชอบความคิดฟุ้งซ่านต่างหาก
- เหมือนกับเสียงดัง เราโทษที่เสียงดัง แต่จริงๆเป็นเพราะ “ใจ” ที่ไม่ชอบเสียงนั้นต่างหาก
- ลองวางใจใหม่ มองเหตุแห่งทุกข์ว่าอยู่ในใจของเรา ไม่ใช่มาจากข้างนอก
- สาเหตุของปัญหา คือ สมุทัย เพราะเรา “คิดลบ” ต่อสิ่งนั้น
- ไม่อยากทุกข์ ก็ “ปรับใจ” ให้เฉยๆกับมัน
- รู้เฉยๆ โดยไม่ต้องมีความชอบ หรือ ชัง
- หลายคนพยายามที่จะหยุดคิด แต่เป็นเพราะความไม่ชอบที่คิดต่างหาก ให้รู้ทันความคิด
- อย่าคาดหวังว่าปฏิบัติแล้ว “ต้องไม่คิด”
- ความคิดห้ามไม่ได้ แต่แค่ให้รู้ทันความคิด เท่านี้ก็พอ อย่าหลงคิดโดยไม่รู้ตัว